น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) - กรมควบคุมมลพิษ -
ReadyPlanet.com
dot
dot
เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อม
dot
KEEEN ชีวบำบัดภัณฑ์เชิงนิเวศ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน... ความสุขก็ยั่งยืน... - เทคโนโลยีชีวภาพ งานวิจัยโดย ไบโอเทค สวทช.
นวัตกรรมเพื่อสุขภาพบุคลากร ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
dot
Newsletter รับข่าวสาร ความรู้ ข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

dot
dot
ค้นหาสินค้าและบริการ รวมทั้งข้อมูล ผลิตภัณฑ์ บทความ ความรู้ต่างๆ เพื่อสิ่งแวดล้อม

dot
dot
ข้อมูลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม จากกรมควบคุมมลพิษ
dot
dot
น้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
dot


KEEEN ชีวบำบัดภัณฑ์คืออะไร

KEEEN งานวิจัยและการใช้งาน

KEEEN คว้า 3 รางวัลนวัตกรรม ITEX'12

KEEEN รายการ Smart Biz ช่อง5

จุลินทรีย์ กับ น้ำเสีย

1A 3R Safe Earth สินค้า ผลิตภัณฑ์ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม



น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) - กรมควบคุมมลพิษ -

น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater)
(ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ)

น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater)

 น้ำเสีย หมายถึงน้ำที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการ และน่ารังเกียจของคนทั่วไป ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์อีกต่อไป หรือถ้าปล่อยลงสู่ลำน้ำธรรมชาติก็จะทำให้คุณภาพน้ำของธรรมชาติเสียหายได้

 น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) หมายถึง น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมประจำวันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน และกิจกรรมที่เป็นอาชีพ ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากการประกอบอาหารและชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายภายในครัวเรือน และอาคารประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

 ปริมาณน้ำเสีย ที่ปล่อยทิ้งจากบ้านเรือน อาคาร จะมีค่าประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ หรืออาจประเมินได้จากจำนวนประชากรหรือพื้นที่อาคาร ดังแสดงในตาราง


อัตราการเกิดน้ำเสียต่อคนต่อวัน
ภาค อัตราการเกิดน้ำเสีย (ลิตร/คน-วัน)
2536 2540 2545 2550 2555 2560
กลาง 160-214 165-242 170-288 176-342 183-406 189-482
เหนือ 183 200 225 252 282 316
ตะวันออกเฉียงเหนือ 200-253 216-263 239-277 264-291 291-306 318-322
ใต้ 171 195 204 226 249 275

ที่มา : โครงการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญการจัดการน้ำเสียชุมชน, สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม 2538

ปริมาณน้ำเสียจากอาคารประเภทต่าง ๆ
ประเภทอาคาร หน่วย ลิตร/วัน-หน่วย
อาคารชุด/บ้านพัก ยูนิต 500
โรงแรม ห้อง 1,000
หอพัก ห้อง 80
สถานบริการ ห้อง 400
หมู่บ้านจัดสรร คน 180
โรงพยาบาล เตียง 800
ภัตตาคาร ตารางเมตร 25
ตลาด ตารางเมตร 70
ห้างสรรพสินค้า ตารางเมตร 5.0
สำนักงาน ตารางเมตร 3.0

ที่มา : ข้อพิจารณาเกี่ยวกับปริมาณและลักษณะน้ำทิ้งชุมชนในประเทศไทย, เอกสารประกอบการประชุม สวสท'36, สมาคมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 2536

ลักษณะน้ำเสีย

เกิดจากบ้านพักอาศัยประกอบไปด้วยน้ำเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

1. สารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เช่น เศษข้าว ก๋วยเตี๋ยว น้ำแกง เศษใบตอง พืชผัก ชิ้นเนื้อ เป็นต้น ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ทำให้ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen) ลดลงเกิดสภาพเน่าเหม็นได้ ปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำนิยมวัดด้วยค่าบีโอดี (BOD) เมื่อค่าบีโอดีในน้ำสูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก และสภาพเน่าเหม็นจะเกิดขึ้นได้ง่าย

2. สารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อาจไม่ทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น แต่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ คลอไรด์, ซัลเฟอร์ เป็นต้น

3. โลหะหนักและสารพิษ อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์และสามารถสะสมอยู่ในวงจรอาหาร เกิดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ปรอท โครเมียม ทองแดง ปกติจะอยู่ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ปนมากับน้ำทิ้งจากการเกษตร สำหรับในเขตชุมชนอาจมีสารมลพิษนี้มาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนบางประเภท เช่น ร้านชุบโลหะ อู่ซ่อมรถ และน้ำเสียจากโรงพยาบาล เป็นต้น

4. น้ำมันและสารลอยน้ำต่าง ๆ เป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสง และกีดขวางการกระจายของออกซิเจนจากอากาศลงสู่น้ำ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดสภาพไม่น่าดู

5. ของแข็ง เมื่อจมตัวสู่ก้นลำน้ำ ทำให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนที่ท้องน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน มีความขุ่นสูง มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของสัตว์น้ำ

6. สารก่อให้เกิดฟอง/สารซักฟอก ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ ฟองจะกีดกันการกระจายของออกซิเจนในอากาศสู่น้ำ และอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

7. จุลินทรีย์ น้ำเสียจากโรงฟอกหนัง โรงฆ่าสัตว์ หรือโรงงานอาหารกระป๋อง จะมีจุลินทรีย์เป็นจำนวนมากจุลินทรีย์เหล่านี้ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิตสามารถลดระดับของออกซิเจนละลายน้ำ ทำให้เกิดสภาพเน่าเหม็น นอกจากนี้จุลินทรีย์บางชนิดอาจเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชน เช่น จุลินทรีย์ในน้ำเสียจากโรงพยาบาล

8. ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เมื่อมีปริมาณสูงจะทำให้เกิดการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของสาหร่าย (Algae Bloom) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงต่ำมากในช่วงกลางคืน อีกทั้งยังทำให้เกิดวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาแก่การสัญจรทางน้ำ

9. กลิ่น เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน หรือกลิ่นอื่น ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงงานทำปลาป่น โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น

ลักษณะน้ำเสียชุมชน
พารามิเตอร์ หน่วย ความเข้มข้น
น้อย ปานกลาง มาก
1.ของแข็งทั้งหมด (Total Solids) มก./ล. 350 720 1200
ของแข็งละลายน้ำ (Dissolved Solids)
มก./ล. 250 500 850
ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids)
มก./ล. 100 220 350
2.ปริมาณตะกอนหนัก (Settleable Solids) มล./ล 5 10 20
3.ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand;BOD) มก./ล. 110 220 400
4.ค่าซิโอดี (chemical Oxygen Demand;COD) มก./ล. 250 500 1000
5.ไนโตรเจนทั้งหมด (Total as N) มก./ล. 20 40 85
อินทรีย์ไนโตรเจน (Organic)
มก./ล. 8 15 35
แอมโมเนีย (Free ammonia)
มก./ล. 12 25 50
ไนโตรท์ (Nitrites)
มก./ล. 0 0 0
ไนเตรท (Nitrate)
มก./ล. 0 0 0
6.ฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total as P) มก./ล. 4 8 15
สารอินทรีย์ (Organic)
มก./ล. 1 3 5
สารอนินทรีย์ (Inorganic)
มก./ล. 3 5 10
7. คลอไรด์ (Chloride)(1) มก./ล. 30 50 100
8.ซัลเฟต (Sulfate)(1) มก./ล. 20 30 50
9.สภาพด่าง (Alkalinity as CaCO3) มก./ล. 50 100 200
10.ไขมัน (Grease) มก./ล. 50 100 150
11.Total Coliform MPN/100ml 106-107 107-108 107-109

หมายเหตุ :(1) เป็นค่าที่เพิ่มจากค่าที่ตรวจพบในน้ำใช้ปกติ

ที่มา : Wastewater Engineering, Metcalf&Eddy 1991

ตัวอย่างลักษณะน้ำเสียจากบ้านพักอาศัย
พารามิเตอร์ น้ำเสียจากส้อม จากห้องอาบน้ำ จากการซักผัก จากครัว
ตักอาบ ฝักบัว ด้วยมือ ด้วยเครื่อง ผ่านตะแกรง ไม่ผ่าน
pH 7.7 7.1 7.0 7.2 7.7 7.2 6.3
COD (mg/l) 1,500 230 400 200 560 960 2,900
BOD (mg/l) 700 120 260 70 150 540 1,800
TKN (mg/l) 300 8 38 14 12 18 120
PO4 (mg/l) 24 6 1 10 24 13 90
SS (mg/l) 560 45 80 60 55 210 1,200
FOG (mg/l) 540 400 480 500 520 500 2,700

ที่มา :น้ำเสียชุมชนและปัญหามลภาวะทางน้ำในเขต กทม. และปริมณฑล, ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และคณะสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2530

ผลกระทบของน้ำเสียชุมชนต่อสุขภาพอนามัย

โดยทั่วไปเชื้อโรคที่พบในน้ำเสียที่ก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์ได้ มี 4 ชนิด คือ แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และพยาธิ โดยมีสาเหตุมาจากอุจจาระของมนุษย์ปนมากับน้ำเสีย โรคติดเชื้อจากสิ่งขับถ่ายสามารถติดต่อสู่คน มี 2 วิธี คือ เกิดจากเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งขับถ่ายของบุคคลหนึ่งแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมแล้วเข้าสู่บุคคลอื่น และเกิดจากเชื้อโรคจากสิ่งขับถ่ายเข้าทางปาก โดยที่สัตว์พาหนะ เช่น หนูหรือแมลงต่าง ๆ ที่อาศัยสิ่งขับถ่ายในการขยายพันธุ์ จะรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยเชื้ออาจอยู่ในตัว ลำไส้ หรือในเลือดของสัตว์พาหนะนั้น โดยที่คนจะได้รับเชื้อผ่านสัตว์เหล่านั้นอีกทีหนึ่ง ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จำแนกเชื้อโรคตามลักษณะการติดเชื้อออกเป็น 6 ประเภท

ประเภทที่ 1การติดเชื้อไวรัสและโปรโตซัว สามารถทำให้เกิดโรคได้แม้ว่าจะได้รับเชื้อเพียงเล็กน้อย และสามารถติดต่อได้ง่าย ซึ่งการปรับปรุงระบบสุขาภิบาลเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กันด้วย

ประเภทที่ 2 การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะต้องได้รับเชื้อในปริมาณที่มากพอจึงจะทำให้เกิดโรคได้ แต่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้ยาก เชื้อนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีในที่ที่เหมาะสม ซึ่งการปรับปรุงระบบสุขาภิบาลเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กันด้วย

ประเภทที่ 3เชื้อชนิดนี้ทำให้เกิดโรคได้ทั้งในระยะแฝงและระยะฝังตัว ได้แก่ ไข่พยาธิ ซึ่งไม่สามารถติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้โดยตรง แต่ต้องการสถานที่และสภาวะที่เหมาะสมเพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวพยาธิและเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เช่น การกำจัดสิ่งขับถ่ายที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงเป็นการป้องกันมิให้มีสิ่งขับถ่ายปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม

ประเภทที่ 4 พยาธิตัวตืดอาศัยอยู่ในลำไส้คน ไข่พยาธิจะปนออกมากับอุจจาระ ถ้าการกำจัดสิ่งขับถ่ายไม่เหมาะสม ก็จะทำให้สัตว์จำพวกโค กระบือ และสุกร ได้รับไข่พยาธิจากการกินหญ้าที่มีไข่พยาธิเข้าไป ซึ่งไข่พยาธินี้เมื่อเข้าไปในร่างกายสัตว์แล้วจะกลายเป็นซีสต์ (Cyst) และฝังตัวอยู่ตามกล้ามเนื้อ คนจะได้รับพยาธิโดยการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ ๆ ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เช่น การกำจัดสิ่งขับถ่ายที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงเป็นการป้องกันมิให้มีสิ่งขับถ่ายปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม

ประเภทที่ 5 พยาธิที่มีบางระยะของวงชีวิตอยู่ในน้ำ โดยพยาธิเหล่านี้จะมีระยะติดต่อตอนที่อาศัยอยู่ในน้ำ โดยจะเข้าสู่ร่างกายคนโดยการไชเข้าทางผิวหนังหรือรับประทานสัตว์น้ำที่ไม่ได้ทำให้สุก ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี จึงเป็นการป้องกันมิให้พยาธิเหล่านี้ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม

ประเภทที่ 6 การติดเชื้อโดยมีแมลงเป็นพาหะ แมลงที่เป็นพาหะที่สำคัญ ได้แก่ ยุง แมลงวัน โดยยุงพวก Culex pipines จะสามารถสืบพันธุ์ได้น้ำเสีย โดยเชื้อจะติดไปกับตัวแมลง เมื่อสัมผัสอาหารเชื้อก็จะปนเปื้อนกับอาหาร ดังนั้นการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี จึงเป็นการป้องกันพาหนะเหล่านี้

ดังนั้น แนวทางหนึ่งในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค คือ จะต้องจัดระบบสุขาภิบาลตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับชุมชนให้ถูกต้องเหมาะและควรมีระบบการจัดการและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่สามารถกำจัดเชื้อโรคในน้ำทิ้งได้ก่อนที่จะระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม

สมมูลประชากร

คือ ค่าความสกปรกหรือมลสารในรูปสารอินทรีย์ที่วัดได้โดยหน่วยวัดบีโอดี อันเกิดจากการดำเนินชีวิตของคน ๆ หนึ่ง และสามารถหาได้จากสูตร

สมมูลประชากร (สป.) = บีโอดีในน้ำเสีย (กรัม/ลิตร) x ปริมาณน้ำเสียที่คน ๆ หนึ่งผลิตออกมาต่อวัน (ลิตร/คน/วัน) = บีโอดี เป็น กรัม/คน-วัน

ค่าสมมูลประชากรแบ่งตามภาคต่าง
ภาค ค่าสมมูลประชากร (กรัม บีโอดี/คน-วัน)
2540 2545 2550 2555 2560
กลาง 30 34 36 38 40
เหนือ 30 34 36 38 40
ตะวันออกเฉียงเหนือ 35 40 43 47 50
ใต้ 35 38 42 46 50

ที่มา : โครงการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญการจัดการน้ำเสียชุมชน, สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม 2538

ลักษณะของน้ำเสียจากอาคารประเภทต่างๆ
ลักษณะ หอพัก ภัตตาคาร โรงพยาบาล ตลาดสด อาหารสำนักงาน สถานบริการ อาบ อบ นวด* ห้างสรรพ สินค้า โรงภาพยนตร์ โรงแรม อาคารชุด (คอนโด มิเนียม)
จากส้วม จากส่วนอื่นๆ จากส้วมบำบัดแล้ว+ครัวและอื่นๆ จากครัว+อื่นๆ จากส้วม จากครัวอื่นๆ
pH 8.55 7.78 6.54 6.74 6.84 6.67 8.10 7.4 6.6 7.51 7.53 7.05 7.20
COD(mg/l) 1,290 135 1,785 3,164 350 2,528 392 96 117 253 110 311 221
BOD(mg/l) 723 75 919 1,759 238 1,172 181 41 55 81 60 190 151
TKN(mg/l) 329 19.2 55.1 63.2 15.2 76.5 44.1 9.7 14.1 66.8 72.7 23 33.7
PO4 (mg/l) 6.8 3.9 3.2 2.6 3.29 5.1 2.0 0.4 14.7 10.1 2.7 1.8 2.0
SS (mg/l) 666 29 401 913 87.06 662 158 26 17.1 61 45 84 63
FOG(mg/l) 377 411 1,136 1,570 631 897 455 527 452.86 577 219 563 473

* บำบัดมาแล้วบางส่วน

ที่มา : น้ำเสียชุมชนและปัญหามลภาวะทางน้ำในเขต กทม. และปริมณฑล, ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และคณะ, สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, 2530

1. พีเอช (pH) เป็นค่าที่บอกถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเสีย โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือจุลินทรีย์ในถังบำบัดจะดำรงชีพได้ดีในสภาะเป็นกลาง คือ pH ประมาณ 6-8

2. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ถ้าค่าบีโอดีสูงแสดงว่าความต้องการออกซิเจนสูง นั่นคือมีความสกปรกหรือสารอินทรีย์ในน้ำมาก

3. ปริมาณของแข็ง (Solids)< หมายถึงปริมาณสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสีย ทั้งในลักษณะที่ไม่ละลายน้ำและที่ละลายน้ำ (Dissolved Solids) ของแข็งบางชนิดมีน้ำหนักเบาและแขวนลอยอยู่ในน้ำ (Suspended Solids) บางชนิดหนักและจมตัวลงเบื้องล่าง (Settleable Solids) ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำนี้อาจสร้างปัญหาในการอุดตันเครื่องเติมอากาศ และถ้าปล่อยทิ้งในปริมาณมากจะทำให้เกิดความสกปรกและตื้นเขินในลำน้ำธรรมใชาติ ตลอดจนบดบังแสงแดดที่ส่องลงสู่ท้องน้ำ

4. ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุจำเป็นในการสร้างเซลล์ ของสิ่งมีชีวิต ไนโตรเจนจะเปลี่ยนสภาพเป็นแอมโมเนีย ถ้าหากในน้ำมีออกซิเจนพอเพียงก็จะถูกย่อยสลายไปเป็นไนไทรต์และไนเตรท ดังนั้นการปล่อยน้ำเสียที่มีสารประกอบไนโตรเจนสูงจึงทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในลำน้ำลดน้อยลง

5. ไขมันและน้ำมัน Fat, Oil, and Grease) ส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ที่ใช้ในการทำอาหาร สบู่จากการอาบน้ำ ฟองสารซักฟอกจากการชำระล้าง สารเหล่านี้มีน้ำหนักเบาและลอยน้ำ ทำให้เกิดสภาพไม่น่าดูและขวางกั้นการซึมของอกอซิเจนจากอากาศสู่แหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีค่าบีโอดีสูงเพราะเป็นสารอินทรีย์

6. ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) คือค่าปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ด้วยวิธีการทางเคมี มักใช้เทียบหาค่าบีโอดีโดยคร่าวๆ ปกติ COD:BOD ของน้ำเสียชุมชนประมาณ 2-4 เท่า

คลิ๊ก Download โบว์ชัวร์ ที่นี่ KEEEN Brochure_WT_R1.pdf

ติดต่อสั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  ได้ที่

Green & Clean Solution
บริษัท ดูแอนด์บี จำกัด
(ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ)
KEEEN ราคาพิเศษ โทร 088-8471451,081-4327109

 




บทความการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ค่ามาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม article
มาตรฐานค่าน้ำทิ้ง/น้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง article
ค่ามาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง จากอาคาร
หุ่นยนต์ทำความสะอาดคราบน้ำมัน นวัตกรรมใหม่ จาก MIT



Copyright © 2012 All Rights Reserved.

Green&Clean Solution by Do&Be Consulting&Training Co.,Ltd.
กรีนแอนด์คลีนโซลูชั่น
ดำเนินงานโดย บริษัท ดูแอนด์บี จำกัด

สำนักงานใหญ่ : 61 ถ.สมุทรคงคา ต.ท่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง 21000 
ศูนย์จัดส่ง :  39/91 หมู่บ้านปรีชา(ซ. 6/2) ซอยวัดหนามแดง ถ.ศรีนครินทร์ 
ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ  10540
โทร. 088-8471451, 081-4327109 แฟ็กซ์. 038-611826
อีเมล :
greenandcleansolution@gmail.com
เว็บไซต์ : 
www.greenandcleansolution.com
LINE ID : @greenandclean 

KEEEN Brochure คลิ๊กเลย!!!