ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
ReadyPlanet.com
dot
dot
เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อม
dot
KEEEN ชีวบำบัดภัณฑ์เชิงนิเวศ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน... ความสุขก็ยั่งยืน... - เทคโนโลยีชีวภาพ งานวิจัยโดย ไบโอเทค สวทช.
นวัตกรรมเพื่อสุขภาพบุคลากร ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
dot
Newsletter รับข่าวสาร ความรู้ ข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

dot
dot
ค้นหาสินค้าและบริการ รวมทั้งข้อมูล ผลิตภัณฑ์ บทความ ความรู้ต่างๆ เพื่อสิ่งแวดล้อม

dot
dot
ข้อมูลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม จากกรมควบคุมมลพิษ
dot
dot
น้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
dot


KEEEN ชีวบำบัดภัณฑ์คืออะไร

KEEEN งานวิจัยและการใช้งาน

KEEEN คว้า 3 รางวัลนวัตกรรม ITEX'12

KEEEN รายการ Smart Biz ช่อง5

จุลินทรีย์ กับ น้ำเสีย

1A 3R Safe Earth สินค้า ผลิตภัณฑ์ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม



ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง article

มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง/น้ำเสียจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง(ปั๊มน้ำมัน)
(ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ)

มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
ดัชนีคุณภาพน้ำ หน่วย ค่ามาตรฐาน วิธีการตรวจสอบ
1.ความเป็นกรดและด่าง (pH) - 5.5-9.0 ใช้เครื่องวัดความเป็นกรดและด่างของน้ำ (pH Meter)
2.ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand: COD) มก./ล. ไม่เกิน 200 ใช้วิธีย่อยสลาย โดยโปตัสเซียมไดโครเมต (Potassium Dichromate Digestion)
3.สารแขวนลอย (Suspended Soilds;SS)   ไม่เกิน 60 ใช้วิธีการกรอง ผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fiber Filter Disc)
4.น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) มก./ล. ไม่เกิน 15 ใช้วิธีสกัดด้วยตัวทำละลาย แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน

หมายเหตุ : วิธีการตรวจสอบมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำเสียที่สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กำหนดไว้หรือตามวิธีการมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย (Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ) ที่ APHA AWwA และ WEF ร่วมกันกำหนดไว้ 
แหล่งที่มา : ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 123 ตอนที่ 129ง ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2549
 

มาตรการการควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่าง ๆ ลงสู่ลำน้ำ
เพื่อเป็นการแก้ไขบรรเทาความเสื่อมโทรมและภาวะมลพิษในลำน้ำ ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ และทะเลภายในน่านน้ำไทย กรมเจ้าท่า ได้ประกาศในกิจกรรมสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทที่ปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำดังกล่าว ต้องขออนุญาตการปล่อยน้ำทิ้งจากกรมเจ้าท่า ดังนี้
  1. กิจกรรมและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาลที่มีการปล่อย
    น้ำทิ้งลงสู่ลำน้ำ ให้เจ้าของกิจการข้างต้นยื่นคำร้องขออนุญาตปล่อยน้ำทิ้งพร้อมกับเสนอแบบผังท่อปล่อยน้ำทิ้งต่อกรมเจ้าท่า และต้องมีการต่ออายุใบอนุญาตทุกปี
  2. การขออนุญาตดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร และมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ในกรณีที่คุณภาพน้ำทิ้งเกินมาตรฐานดังกล่าวจะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจนได้ตามมาตรฐาน ฯ จึงจะได้รับอนุญาตให้ปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ลำน้ำได้ และการฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
  3. เจ้าของกิจการจะต้องให้ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกให้กับนักวิชาการสิ่งแวดล้อม กองวิชาการ กรมเจ้าท่าเข้าตรวจสภาพการปล่อยน้ำทิ้งในสถานประกอบกิจการได้ในเวลาเปิดทำการ

แหล่งที่มา : ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 67/2534 เรื่อง ให้มีการขออนุญาตการปล่อยน้ำทิ้งทุกประเภท ลงสู่ ลำน้ำ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2534
 

มาตรการการป้องกันน้ำมัน หรือเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งเป็นพิษอันตรายขยะขนถ่ายทางน้ำ
เพื่อเป็นการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมัน เคมีภัณฑ์ หรือสิ่งเป็นพิษอันตรายที่เกิดขึ้นในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ำไทย ซึ่งอาจจะทำให้คุณภาพของน้ำเสื่อมโทรมลง และ ส่งผลกระทบต่อสิ่งชีวิตและสภาพแวดล้อมต่างๆ กรมเจ้าท่าจึงขอยกเลิกประกาศกรมเจ้าท่าที่ 158/2536 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ
  1. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองท่ากรณีที่มีการขนถ่ายระหว่างท่าเทียบสู่เรือ หรือเรือสู่ท่าเทียบเรือ และนายเรือหรือเจ้าของเรือลำที่ทำการถ่ายกรณีที่มีการขนถ่ายระหว่างเรือสู่เรือ จัดเตรียมแผนการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำของกิจกรรมดังกล่าว โดยต้องกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดผู้รับผิดชอบจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนจัดให้มีการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสม่ำเสมอ ซึ่งแผนดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมเจ้าท่าก่อน
  2. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองท่าขนถ่าายน้ำมัน จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการแก้ไขปัญหาการรั่วไหลของน้ำมัน อันประกอบด้วย
    • ทุ่งกักคราบน้ำมัน (BOOM) ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของความยาวเรือสูงสุดที่เข้าเทียบท่า ประจำอยู่ที่ท่าและให้ใช้งานทุกครั้งที่มีการขนถ่าย อีกส่วนหนึ่งความยาวไม่น้อยกว่า 2 เท่าของความยาวเรือ เตรียมพร้อมไว้ใกล้ท่าเทียบเรือสำหนับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
    • อุปกรณ์เก็บคราบน้ำมัน (Skimmer) ควรเป็น Weir Skimmer หรือ Oleophilic Skimmer หรือ Vacuum Skimmer ตามลำดับ โดยการเลือกใช้ให้พิจารณาจากความหนืดของน้ำมันแต่ละชนิด ความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพของอุปกรณ์
    • 2.3 ที่เก็บคราบน้ำมันชั่วคราวหรือที่เก็บคราบน้ำมันประจำท่า ต้องสามารถนำมาใช้งานได้ทันที ควรมีความจุไม่น้อยกว่า 40 ลูกบาศก์เมตร และสามารถจัดหาเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
    • สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (Dispersant) ต้องเป็นชนิดและประเภทที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมเจ้าท่าเพื่อใช้สารเคมีดังกล่าวไว้เป็นการล่วงหน้า จำนวนที่ต้องเตรียมไว้ควรมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของขนาดน้ำมันที่อาจเกิดการรั่วไหล
  3. ในกรณีการขนถ่ายสสารเคมีหรือสิ่งเป็นพิษอันตราย ระหว่างท่าเทียบเรือสู่เรือ หรือเรือสู่ท่าเทียบเรือ ให้นายท่าและนายเรือร่วมกันตรวจสอบความพร้อมก่อนการขนถ่าย (Ship Shore Checklists) โดยให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองท่าเก็บรวบรวมรายงานการตรวจสอบดังกล่าวส่งให้กรมเจ้าท่าทราบทุกเดือน
  4. สำหรับกรณีการขนถ่ายระหว่างเรือสู่เรือ ให้นายเรือทั้งสองลำทำการตรวจสอบรายการสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนการขนถ่ายผลิตภัณฑ์ (Checklists) จึงสามารถลงมือดำเนินการขนถ่ายได้ และให้เจ้าของเรือเก็บรวบรวมรายงานการตรวจสอบดังกล่าวส่งให้กรมเจ้าท่าทราบทุกเดือน
  5. ข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น กรมเจ้าท่าจะใช้เป็นข้อพิจารณาในการขอต่ออายุใบอนุญาตท่าเทียบเรือประจำปี และใช้ประกอบการพิจารณาในการดำเนินคดีหากเกิดเหตุรั่วไหลขึ้น

แหล่งที่มา

:

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 495/2541 เรื่อง การป้องกันน้ำมัน หรือเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งเป็นพิษอันตราย ขณะขนถ่ายทางน้ำ

* KEEEN สูตร Oil Spill Control ได้รับการรับรองในการใช้งาน จากกรมเจ้าท่า ตั้งแต่ปี 2556 *

KEEEN สูตร Oil Spill Control กำจัดคราบน้ำมัน

 

คลิ๊ก Download โบว์ชัวร์ ที่นี่ KEEEN Brochure_WT_R1.pdf

ติดต่อสั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  ได้ที่

Green & Clean Solution
บริษัท ดูแอนด์บี จำกัด
(ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ)
KEEEN ราคาพิเศษ โทร 088-8471451,081-4327109

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บทความการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ค่ามาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม article
น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) - กรมควบคุมมลพิษ -
มาตรฐานค่าน้ำทิ้ง/น้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
ค่ามาตรฐานน้ำเสีย/น้ำทิ้ง จากอาคาร
หุ่นยนต์ทำความสะอาดคราบน้ำมัน นวัตกรรมใหม่ จาก MIT



Copyright © 2012 All Rights Reserved.

Green&Clean Solution by Do&Be Consulting&Training Co.,Ltd.
กรีนแอนด์คลีนโซลูชั่น
ดำเนินงานโดย บริษัท ดูแอนด์บี จำกัด

สำนักงานใหญ่ : 61 ถ.สมุทรคงคา ต.ท่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง 21000 
ศูนย์จัดส่ง :  39/91 หมู่บ้านปรีชา(ซ. 6/2) ซอยวัดหนามแดง ถ.ศรีนครินทร์ 
ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ  10540
โทร. 088-8471451, 081-4327109 แฟ็กซ์. 038-611826
อีเมล :
greenandcleansolution@gmail.com
เว็บไซต์ : 
www.greenandcleansolution.com
LINE ID : @greenandclean 

KEEEN Brochure คลิ๊กเลย!!!